mengcambodia.com

 

 

บทที่ 34
ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย


        ปัญหาการขาดดุลการค้ากับต่างประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี
สาเหตุของการขาดดุลการค้าระหว่างประเทศของไทย
    1. มีมูลค่าการนำเข้าสินค้าปริมาณมากกว่ามูลค่าการส่งออก
    2. การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมภายในประเทศยังต้องพึ่งพิงจากสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ
    3. ประชาชนนิยมบริโภคสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น

       ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
สาเหตุของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
    1. การอ่อนตัวลงของค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินเยนและเงินดอลล่าร์ ทำให้สินค้านำเข้ามีราคาสูงขึ้น
    2. มีการนำเข้าสินค้าในปริมาณสูงขึ้นในสินค้าประเภททุน รถยนต์ และอะไหล่ของรถยนต์
    3. มีการนำเข้าสินค้าพิเศษ เช่น อาวุธ เครื่องบิน
    4. ขาดเงินออมในประเทศที่มีไม่เพียงพอกับการลงทุนที่สูงขึ้น จำเป็นต้องกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ
ผลกระทบของการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
    1. แสดงถึงเสถียรภาพของค่าเงินบาทในตลาดโลก
    2. ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการลงทุนจากต่างประเทศ
    3. แสดงฐานะการเงินของประเทศให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น


       ปัญหาภาวะเงินเฟ้อ - เงินฝืดของประเทศ
               ภาวะเงินเฟ้อ หมายถึงภาวะค่าของเงินลดต่ำลง มีผลทำให้ราคาสินค้าและบริการมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
    1. ผู้ขายเพิ่มราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น
    2. มีความต้องการซื้อสินค้ามากกว่าปริมาณสินค้า
    3. ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เช่น ค่าแรงที่สูงขึ้น
สาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อของประเทศไทย
    1. การขยายตัวทางเศรษฐกิจทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
    2. มีการเพิ่มเงินเดือนให้กับข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ
    3. มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำให้กับประชาชน
    4. มีการลดภาษีเงินได้
    5. การผลิตชะลอตัวลงเนื่องจากสินค้าทุนที่นำเข้ามีราคาสูงขึ้น ทำให้สินค้าและบริการมีปริมาณน้อยลงไม่ เพียงพอกับความต้องการของประชาชน
ผลกระทบจากการเกิดภาวะเงินเฟ้อ
    1. เกิดภาวะการว่างงานเพราะผู้ผลิตขาดทุน หรือเลิกกิจการ
    2. ผู้มีรายได้ประจำ เช่น ข้าราชการ จะมีรายได้ไม่เพียงพอกับราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มสูงขึ้น
    3. เจ้าหนี้จะเสียผลประโยชน์เพราะค่าของเงินเปลี่ยนแปลงไป
    4. ผู้ประกอบธุรกิจการค้า และลูกหนี้จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น

          ภาวะเงินฝืด
                เงินฝืด หมายถึง ภาวะของค่าเงินสูงขึ้น สินค้าและบริการต่าง ๆ ราคาลดต่ำลง
สาเหตุภาวะเงินฝืด
      ประชาชนมีความต้องการซื้อน้อยกว่าปริมาณสินค้า ผลกระทบจากภาวะเงินฝืด คืออาจเกิดภาวะการว่างงานเพราะผู้ผลิตขาดทุน กลุ่มบุคคลที่ได้เปรียบในภาวะเงินฝืด คือ เจ้าหนี้ และบุคคลที่เสียเปรียบ ได้แก่ พ่อค้า ผู้ผลิต ผู้เช่า ลูกหนี้

การแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ - เงินฝืด
โดยใช้มาตรการทางเศรษฐกิจมี 3 ทาง ได้แก่
1. นโยบายการเงิน
เป็นนโยบายเกี่ยวกับการควบคุมปริมาณเงินให้พอดีกับความต้องการและความจำเป็นในการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจ
    - ภาวะเงินเฟ้อ เช่น ลดเครดิตธนาคาร ขายพันธบัตร และเพิ่มดอกเบี้ยเงินฝาก
    - ภาวะเงินฝืด เช่น ธนาคารให้เครดิตมากขึ้น ซื้อพันธบัตรคืน และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
2. นโยบายการคลัง เป็นการวางแผนปรับภาวะการเงินของรัฐบาลให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจ
โดยปรับการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายเงินของรัฐบาล เช่น เพิ่มภาษีอากร รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล
    - ภาวะเงินเฟ้อ เช่น เพิ่มภาษีอากร รัฐบาลใช้นโยบายงบประมาณเกินดุล
3. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ เกี่ยวกับสินค้านำเข้า และส่งออก เช่น สนับสนุนสินค้านำเข้า
    - ภาวะเงินเฟ้อ เช่น สนับสนุนสินค้านำเข้า
    - ภาวะเงินฝืด เช่น ส่งเสริมสินค้าออก
  
 

none


Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  5,693
Today:  5
PageView/Month:  46

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com